ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

Week 18 (29/09/56)

องค์ความรู้ทีได้รับ

 -> นำเสนอการทดลอง 
 -> ส่งชิ้นงานทุกชิ้น  ได้แก่
     1.  สื่อเข้ามุมวิทยาศาสตร์
     2.  ของเล่นวิทยาศาสตร์
     3. การทดลองวิทยาศาสตร์

Week 17 (18/09/56)




กิจกรรม 

 *วันนี้เป็นการลงมือปฏิบัติจริงในการเข้าครัวทำไข่ตุ๋น กิจกรรม cooking หลังจากที่ได้เขียนแผนการจัดประสบการณ์เมื่อสัปดาห์แล้ว

ขั้นตอนการจัดประสบการณ์ cooking (ไข่ตุ๋นแฟนซี)


  1.  ครูจัดเด็กนั่งเป็นครึ่งวงกลม  แล้วนำอุปกรณ์ที่จะทำไข่ตุ๋น ในวันนี้วางไว้ข้างหน้า


  2.  ครูเสริมแรงเด็กโดยการใช้คำถาม  เช่น เด็กเห็นไหมคะว่าวันนี้คุณครูมีอะไรมา?
  3.  ครูแนะนำวัตถุดิบให้เด็กฟัง


  4.   ครูให้นักเรียนอาสาสมัครออกมาหั่นผักและก็ปูอัดทีละคน ผักที่จะหั่นได้แก ผักชี ต้นหอมแครอท..โดยที่คุณครูเฝ้าาสังเกตการหั่นผักแต่ละชนิดของเด็กๆ


5.   เด็กๆ กับครูร่วมกันปรุงรสไข่ตุ่นกันอย่างสนุกสนาน ^^

Week 16 (15/09/56)




หมายเหตุ** วันนี้มีเรียนชดเชยแต่ดิฉันไม่ค่อยสบายเลยไม่ได้ไปเรียนค่ะ

Week 15 (11/09/56)





*หมายเหตุไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ*

มีงานมอบหมายคือ เตรียมจัดทำรูปเล่มที่ไปศึกษาดูงาน

Week 14 (04/09/56)




********หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดภาระกิจราชการ************

Week 13 (28/08/56)

ศึกษาดูงาน 27-28  สิงหาคม 2556

ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา   และ  โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์








Week 12 (21/08/56)

 
 
 
กิจกรรม
  • มอบหมายงานให้ไปหาข้อมูลที่เราจะไปศึกษาดูงาน และเตรียมตัวตามหน้าที่ขอตนเองที่ได้
มอบหมาย
  • ให้นักศึกษาประดิษฐ์ ของเล่นวิทยาศาตร์และการทดลองวิทยาศาตร์

Week 11 (14/08/56)



กิจกรรม
  • นัดหมายการไปศึกษาดูงาน ที่ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์ ในวันที่  27 - 28  สิงหาคม  255
  • ตรวจบล็อก พร้อมให้คำแนะนำ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์
  • มอบหมายหน้าที่ในการไปศึกษาดูงาน

Week 10 (13/08/56)



โครงการ "การจัดการศึกษาสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต"

วันอังคาร ที่  13  สิงหาคม  2556 เวลา 13:00 - 16:30 น. 
ณ  ห้องประชุมจันทร์ประภัสส์  ชั้น 5  อาคารสำนักงานอธิการบดี บรรยายพิเศษ  โดย  คุณมีชัย  วีระไวทยะ

Week 9 (07/08/56)


*********หมายเหตุ ไม่มีการเรียนการสอน*********  
เนื่องจากวันนี้อาจารย์ให้เข้าร่วมอบรม โครงการ กายงามใจดี ศรีปฐมวัย

Week 8 (02/08/56)





สอบกลางภาค


Week 7 (24/07/56)




อาจารย์ให้นักศึกษารวมกันตอบ และซักถามอภิปรายในเรื่องของ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และดูโทรทัศน์ครู เรื่อง Project Approach การสอนแบบโครงการปฐมวัย

Week 6 (18/07/56)


- ส่งงานสื่อ & ของเล่นวิทยาศาสตร์







ชื่อของเล่น รถพลังลม
 อุปกรณ์ 
1.     กระดาษแข็ง
2.     แก้วกระดาษ                                        
3.     หลอดดูดน้ำ
4.     ตะเกียบไม้
5.     เทปกาว
6.     กาวน้ำ
7.     ฝาขวดพลาสติก


วิธีทำ
1.      ตัด หลอดดูดน้ำ 2 หลอดให้ยาวกว่าด้านกว้างของกระดาษแข็งเล็กน้อย  ตัดกระดาษให้เป็นรูปวงกลม 4 อัน  ตะเกียบไม้ 1  คู่  และฝาขวดน้ำ 4  ฝา 



2.      ตัดกระดาษแข็งเพื่อเป็นฐานของรถ อาจจะใช้กระดาษสีลายต่างๆ ติดเพื่อเพิ่มความสวยงาม  แล้วติดตะเกียบไม้ไว้ด้านล่างของฐาน ทั้ง 2 สองข้าง

3.      ใช้กระดาษแข็งที่ตัดเป็นวงกลม ติดในฝาขวด ให้ครบทั้ง 4  ฝา แล้วเจาะรู 



4.      หลังจากนั้น ใช้ฝาขวดติดปลายตะเกียบไม้ทั้ง 4 ด้าน และ นำมาติดกับฐานกระดาษแข็งที่ทำไว้แล้ว






5.      ติดแก้วไว้บนฐาน และตกแต่งให้สวยงาม พร้อมเล่น




วิธีเล่นรถพลังลม
ใช้ปากเป่าเพื่อให้รถเคลื่อนตัวไปข้างหน้า   สามารถเล่นแข่งกันได้เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน
รถพลังลมเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไร
"แรงดันอากาศ" คือ แรงที่เกิดจากอนุภาคของอากาศที่เคลื่อนที่ชนกันเองตลอดเวลาในทุกทิศทางพุ่งมาชนผนังภาชนะ  ดังที่ประดิษฐ์  รถพลังลมขึ้น ซึ่งการเล่นรถพลังลม ก็ต้องใช้อากาศ โดยเราเป่าปากแก้ว เพื่อให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้  โดยใช้เล่นแข่งกันได้ ให้เด็กเกิดการเรียนรู้ และความสนุกสนาน

Week 5 (15/07/56)



กิจกรรม

  • นำเสนองาน  การทำสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ 
นำเสนองานน่าชั้นเรียน อธิบายวิธีการเล่น และ  การนำสื่ออุปกรณืมาทำมีอะไรบ้าง  เล่นแล้วได้อะไรเป็นวิทยาศาสตร์ตรงไหน ?

งานประดิษฐ์สื่อวิทยาศาสตร์
นาฟักาขวดน้ำ




อุปกรณ์
1.กรรไกร 2. ขวดน้ำ 2 ขวด
3. เทปกาว 4. เชือกกระดาษส่า
5. กาวร้อน 6. น้ำ
7. สีผสมอาหาร 8. มีดคัดเตอร์
9.ปากกาเคมีสามสี 10. ฝาขวดน้ำ
11. แก้วน้ำ

วิธีการทำ
1.นำขวดน้ำสองขวดพร้อมฝาไปล้างให้สะอาด จากนั้นนำฝาขวดน้ำทั้งสองมาเจาะรูด้วยคัดเตอร์ให้เท่าๆกัน
2.นำขวดน้ำทั้งสองขวดมาตกแต่งลายตามใจชอบด้วยนำปากกาเคมีสามสี เสร็จแล้วนำน้ำประมาณ 1/2 ใส่ลงในแก้วน้ำที่เตรียมไว้แล้วนำสีผสมอาหารมาผสมกับน้ำให้เท่ากัน
3.นำน้ำที่ผสมสีใส่ลงในขวดๆเดียว จากนั้นเอาฝาขวดปิดแล้วเอาขวดที่ว่างเปล่ามาวางบนขวดที่มีน้ำโดยการคว่ำขวด เอาฝาขวดมาชนกันแล้วเอากาวร้อนมาทารอบๆฝาขวดให้ติดกัน
4.เมื่อได้ขวดที่ติดกันแล้วเอาเทปกาวมาพันรอบๆฝาขวดทั้งสองขวด จากนั้นเอาเชือกกระดาษส่ามาพันทับบนเทปกาวเพื่อความสวยงาม จากนั้นจะได้นาฟักาขวดน้ำที่เสร็จสมบูรณ์อย่างสวยงาม

ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
การสลับที่กันระหว่างน้ำกับอากาศหรือลมภายในขวด


สะท้อนผลการเรียนรู้ของเด็ก
เด็กได้รับ ด้านร่างกาย คือ เด็กได้ฝึกใช้กล้ามเนื้อเล็กและได้เคลื่อนไหวส่วนของมือและแขน
ด้านอารมณ์/จิตใจ คือ เด็กได้แสดงออกความรู้จากสิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นมา
ด้านสังคม คือ เด็กได้รู้จักช่วยเหลือตัวเอง
ด้านสติปัญญา คือ เด็กได้รู้จักใช้ความคิดและจินตนาการ
ด้านภาษา คือ เด็กได้ฝึกการตั้งชื่อชิ้นงานและอธิบายชิ้นงานที่ประดิษฐ์ขึ้นมา
ด้านคณิตศาสตร์ คือ เด็กได้รู้จักถึงรูปทรงและขนาดของที่ประดิษฐ์ขึ้นมา
ด้านวิทยาศาสตร์ คือ เด็กได้รู้จักใช้ความคิดและประดิษฐ์
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้ใช้ความคิดจินตนาการในการประดิษฐ์งานและรู้จักใช้วัสดุที่เหลือมาใช้ในการประดิษฐ์ชิ้นงาน  

Week 4 (03/07/56)



กิจกรรม
  • อาจารย์จินตนานำสื่อวิทยาศาสตร์มาให้ดู   "กระบอกลูกปิงปอง"


กระบอกลูกปิงปอง สอนเรื่อง แสงทะลุผ่านทำให้มองเห็นลูกปิงปอง

Week 3 (26/06/56)



กิจกรรม
 
อาจารย์ให้ดูวิดีโอเรื่องความลับของแสง


แสง
         แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย
         ความถี่ของคลื่นแสงที่แตกต่างกันนั้นขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือน ถ้าหากคลื่นแสงยิ่งมีความสั่นสะเทือนมากก็จะยิ่งมีความถี่มากแต่ความยาวคลื่นก็จะยิ่งน้อย โดยแสงที่เรามองเห็นได้นั้นเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ในระดับที่ดวงตาของมนุษย์สามารถมองเห็นได้ ซึ่งปกติแล้วแสงจะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็ว 299,792,458 เมตรต่อวินาที

จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสง ได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส คือ วัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือ วัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง คือ วัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
สมบัติพื้นฐานของแสง ได้แก่
  • ความเข้ม (ความสว่างหรือแอมพลิจูด) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปความสว่างของแสง
  • ความถี่ (หรือความยาวคลื่น) ซึ่งปรากฏแก่สายตามนุษย์ในรูปสีของแสง
  • โพลาไรเซชัน (มุมการสั่นของคลื่น) ซึ่งโดยปกติมนุษย์ไม่สามารถรับรู้ได้
คุณสมบัติของแสง

         แสงจะมีคุณสมบัติที่สำคัญ 4 ข้อ ได้แก่ การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation) , การหักเห (Refraction) , การสะท้อน (Reflection) และการกระจาย (Dispersion) 

1. การเดินทางแสงเป็นเส้นตรง
         ในตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเห (refractive index ; n) ของแสงเท่ากัน   แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรง


2. การสะท้อน
         การสะท้อนของแสงสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
         »  การสะท้อนแบบปกติ (Regular reflection)   จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบกับวัตถุที่มีผิวเรียบมันวาวดังรูปที่ 2.2



รูปที่ 2.2 การสะท้อนแบบปกติ


         »  การสะท้อนแบบกระจาย (Diffuse reflection)   จะเกิดขึ้นเมื่อแสงตกกระทบวัตถุที่มีผิวขรุขระดังรูปที่ 2.3



รูปที่ 2.3 การสะท้อนแบบกระจาย


         โดยการสะท้อนของแสงไม่ว่าจะเป็นแบบใดก็ตามจะต้องเป็นไปตามกฎการสะท้อนของแสงที่ว่า "มุมสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบ"

3. การหักเห
         การหักเหของแสงจะเกิดขึ้นเมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางที่มีค่าดัชนีการหักเหไม่เท่ากัน   โดยลำแสงที่ตกกระทบจะต้องไม่ทำมุมฉากกับรอยต่อระหว่างตัวกลางทั้งสอง    และมุมตกกระทบต้องมีค่าไม่เกินมุมวิกฤต

Week 2 (19/06/56)

Week 2 (19/06/56)


กิจกรรม

**อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 6 คนแล้วนั่งเป็นกลุ่ม จากนั้นอาจารย์ให้ชีสใบงานแต่ละกลุ่ม กลุ่มละหนึ่งหัวข้อ


 ความหมายวิทยาศาสตร์

1.  ความหมายของวิทยาศาสตร์ 
2. ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
3. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา
4. การเรียนรู้
5. เเนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
6. กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

วิธีการทำกิจกรรมกลุ่มในครั้งนี้

            -  เมื่อได้เอกสารความรู้แล้ว ให้แต่ละกลุ่มอ่านทำความเข้าใจกับทุกหัวข้อ  และ 1 หัวข้อที่อาจารย์ผู้สอนได้มอบหมายเฉพาะให้สรุปหัวข้อนั้นๆเป็นแนวคิดของกลุ่มตัวเอง
            -   เมื่อหมดเวลาในการอ่านทำความเข้าใจกับหัวข้อต่างๆแล้ว ให้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน  เพื่อไปสำรวจความคิดเห็นของเพื่อนกลุ่มอื่นในหัวข้อที่กลุ่มตนเองได้รับมอบหมาย และจดบันทึก

Week 1 (12/06/56)


กิจกรรม
  • ทำ blogger วิทยาศาสตร์
  • ลิงค์ รายชื่อ เพื่อนในบล็อค
            บล็อกอาจารย์ผู้สอน,หน่วยงานการสนับสนุน,แนวการสอน,งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์,บทความ,สื่อที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์(เพลง,เกม,นิทาน,แบบฝึกหัด,ของเล่นหรือการทดลอง)



อธิบายรายละเอียดใน Course Syllabus ของรายวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย4. เราได้สร้างข้อตกลงการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ทุกครั้งที่เรียนจะตรวจสอบรายชื่อและการแต่งกายทุกครั้ง
  • ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์สื่อสารอื่นใดในเวลาเรียน
  • มาเรียนเกิน 15 นาทีจะถือว่ามาสาย สาย 3 ครั้ง ถือว่าเป็นขาด 1 ครั้ง
  • งานที่มอบหมายต้องส่งตรงตามเวลาที่กำหนด
  • งานกลุ่มต้องปฏิบัติตามเกณฑ์โดยเคร่งครัด
  • ปฏิบัติตนเป็นนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัยที่ดี
  •  
  •